ออกเสียงล้านนา | อักษรล้านนา | เทียบอักษรไทย | ความหมาย |
---|---|---|---|
ผาสาทผีต๋าย | ผา(ระฯบาฯ)สาทฯผีตายฯ | [ผา(ปรา)สาทผีตาย] | น.เครื่องประกอบพิธีงานศพของชาวล้านนา มีรูปเป็นทรงปราสาท มียอดเป็นชั้นๆ ตกแต่งครอบรองรับโลงศพหรือคนตาย สำหรับแห่ศพไปสุสานเพื่อปะชุมเพลิง ผาสาทศ๋พ ก็ว่า. ล้านนาในอดีตได้แยกลักษณะของ ปราสาทศพ ตามชั้น หรือฐานันดรของศพ มี ผาสาทหลังก..บ หรือ ผาสาทหลังโก่ง ใช้ใส่ศพพระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์, ผาสาท หลังเปียง หรือ ผาสาทหลังก๋าย ใส่ศพ เชื้อพระวงศ์ชั้นรองลงมา พระสงฆ์สามเณร และขุนนาง, แมวหรือ แมวควบ ที่คลุมศพของสามัญชน ทั่วไป ดู...แมว ประกอบ |
จะเหลื่อมจะเกื่อม | จเหิ่ลฯอฯมจเกิ่อฯม | [จะเหลื่อมจะเกื่อม] | ว.รสชาติอาหารที่ไม่เข้ากัน,สีหน้ากะเรี่ยกะราด; สะเหลื่อมสะเกื่อม ก็ว่า |
ฮิฮอม | ริรอฯม | [ริรอม] | ก.เก็บหอมรอมริบ,สะสมทรัพย์ |
แก่บ้าน | แก่บ้าฯนฯ | [แก่บ้าน] | น.ผู้ใหญ่บ้าน - ตำแหน่งหัวหน้า หรือผู้ปกครองในระดับ หมู่บ้าน; นายบ้าน,ป้อหลวง ก็ว่า; เรียก ภรรยาของแก่บ้าน หรือภรรยาของ ป้อหลวงว่า แม่หลวง |
กวดกอย | กวฯดคอฯยฯ | [กวดคอย] | ก.ตรวจดู, ตรวจสอบ |
อวายปาก | อวฯายฯปากฯ | [อวายปาก] | น.กลิ่นปาก,คำนินทา |
ไก่น้ำ | ไก่นาฯ | [ไก่น้ำ] | น.นกชนิดหนึ่งเหมือนไก่ ปากแดง ชอบอยู่ตามหนองน้ำเหมือนนกเป็ดน้ำ |
เขม | เขมฯ | [เขม] | น.เข็ม, ต้นเข็ม, ปลาเข็ม |
ปู้ด | พูด | [พูด] | ก.โนนขึ้น เพราะถูกกระทบกระแทก: หัวปู้ด (หัวพองโนนขึ้น); โน ก็ว่า |
ตุ่น | ตุ่ร | [ตุ่น] | น.ตุ่น/ตัวตุ่น - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) ก็เรียก ''ตุ่น''; ตุ่น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รูปร่างคล้ายหนูตะเภา ตัวอ้วนป้อม หัวเล็ก หูเล็ก ตาเล็ก ปากแหลม หางสั้นมาก เล็บต..นหน้ายาวใหญ่ ขนอ่อนนุ่ม สีเทาคล้ำ หรือเทาอมดำ ขุดโพรงอยู่ใต้ดินตลอดเวลา จะไม่ขึ้นมาบนดินหากไม่จำเป็น ดังนั้นจึงมีหูและตาเล็กมาก ลักษณะของโพรงจะเป็นทางยาวมาก โดยมักจะขุดลึกไปจากผิวดินประมาณ 3 นิ้วถึงครึ่งฟุต และมีอีกโพรงหนึ่งเป็นคู่ขนาน ทั้ง 2 สายนี้เชื่อมไว้ด้วยทางเชื่อมเล็กๆ ในแนวเป็นระยะๆ ในบางจุดอาจมีแนวดิ่งลึกลงไปถึง 4 ฟุต ผนังโพรงราบเรียบ ดินที่ขุดทำโพรงบางส่วนจะถูกดันขึ้นไปเหนือพื้นดิน เห็นเปนเนินๆ เรียกว่า ''ขวย หรือ โขย'' อาหารหลักของตุ่นคือ ไส้เดือนดิน แต่ก็กินอย่างอื่นได้ เช่น หนอน หอยทาก และพืชประเภทหัว เช่น มัน แห้ว; ว.สีตุ่น- ความหมายของภาษาไทยกลาง คือ ''สีที่ไม่สด'' เช่น สีแดงตุ่น คือสีแดงที่ไม่สด สีเหลืองตุ่น คือสีเหลืองที่ไม่สด เป็นต้น แต่ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) หมายถึง ''สีตุ่น''; ดู...ฝ้ายตุ่น |