ออกเสียงล้านนา | อักษรล้านนา | เทียบอักษรไทย | ความหมาย |
---|---|---|---|
ป๋งใจ๋ | ป฿ลฯงไจ | [ปลงใจ] | ก.ปลงใจ - เชื่อถือ,วางใจ |
เส้นบุ๋ก ออกเสียง เส้น บุ๋ก | เส้นฯบุก | [เส้นบุก] | น.เส้นบุก - ภาษาถิ่นเหนือหรือคำเมือง ออกเสียง ''เส้นบุ๋ก''; เส้นบุก หรือ เส้นบุ๋ก แปรรูปมาจากหัวบุก มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ กลมและยาวคล้ายวุ้นเส้น แต่ใสขาวขุ่นเล็กน้อย นับว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ให้พลังงานต่ำมากๆ อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่กำลังควบคุมอาหารลดความอ้วน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น; ดู...บุ๋ก |
บ่าเขือเดือนแจ้ง | บ่าฯเขิอฯอเดิอฯรแจ้งฯ | [บ่าเขือเดือนแจ้ง] | น.มะเขือขาว - มะเขือที่มีผลเป็นสีขาว มีหลายชนิด เช่น มะเขือยาวขาว มะเขือขาวหยก มะเขือไข่เต่าขาว แต่ที่นิยมปลูกกันมากคือ "มะเขือเปราะขาว" ผลกลมสีขาวทั่วผล ติดผลดกเป็นช่อ ให้ผลผลิตสูง มีขนาดเล็กพอคำ รสชาติดี ไม่มีรสขื่น เนื้อกรอบอร่อย เหมาะสำหรับกินสด หรือใช้ประกอบอาหาร |
ปึ้ดเขียด | พึดฯขยฯด | [พึดเขียด] | ก.อาการที่เปิดดันยกก้อนหิน |
แอ่วกาดแอ่วลี | แอ่วฯกาดฯแอ่วฯลี | [แอ่วกาดแอ่วลี] | ดู...แอ่วกาด |
เอื้องช้างกระ | เอิ้อฯงช้างฯระฯก | [เอื้องช้างกระ] | น.ช้างกระ/เอื้องช้างกระ - ภาษาถิ่นเหนือ(คำเมือง)เรียก ''เอื้องต๊กโต''; ดู...เอื้องต๊กโต |
ไส้หล้อน | ไส้ห้ลฯอฯร | [ไส้หล้อน] | คำที่ใช้ด่าด้วยความโกรธ ขอให้ตับไตไส้พุงจงหลุดขาด มักใช้ต่อหลังคำว่า ตั๋บปุ๋ด เป็นตั๋บปุ๋ดไส้หล้อน |
ต๊องมาน | ท้อฯงมานฯ | [ท้องมาน] | น.โรคชนิดหนึ่งเกิดจากน้ำขังในท้องมาก ทำให้ท้องโต อย่างหญิงมีครรภ์,โรคที่มีน้ำในช่วงท้อง |
บ้ง | บ้฿งฯ | [บ้ง] | น.บุ้ง - หนอนผีเสื้อมีหลายชนิดและหลายวงศ์; ดู...แมงบ้ง |
แหง(ง สะกด) | แหงฯ | [แหง] | ว.ปริออก,ร้าว แต่ยังไม่แยกจากกัน |